เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น เกิดจากอะไร ต้องแก้ไขอย่างไรกันแน่ ?

เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น
เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น เกิดจากอะไร ต้องแก้ไขอย่างไรกันแน่

เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น

ปัญหาการเสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น สามารถเกิดขึ้นได้กับคอมทุกระบบไม่ว่าจะเป็นระบบ Window หรือ Macbook การที่เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้นมีหลายสาเหตุด้วยกัน ในบทความนี้ www.Itnews24hrs.com จะมาบอกสาเหตุให้ได้ทราบกัน พร้อมทั้งแนะนำแนวทางการแก้ไขเมื่อเราเสียบ External Hard Disk ไม่ขึ้น ผู้อ่านของเราสามารถหยิบนำไปปรับใช้ได้แน่นอน

เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น เกิดจากสาเหตุอะไร ?

  • หัวสายพอร์ตเสียบไม่แน่นสนิท ทำให้ไม่สามารถชื่อมต่อเพื่อใช้งานได้ ควรตรวจสอบก่อนใช้งานว่าเสียหัวพอร์ตสนิทหรือยัง หากยังเสียบไม่สนิทก็ให้เสียบให้สนิท เพื่อที่จะได้สามารถใช้งาน External Hard Disk ได้
  • อาจเกิดการแผงวงจรที่อยู่ภายใน External Hard Disk เกิดความเสียหาย ทำให้ไม่สามารถใช้งานได้ ต่อแล้วใช้ไม่ได้ เปิดไม่ติด หรือต่อแล้วแต่มองไม่เห็น
  • ให้ลองต่อพอร์ต USB อื่น ๆ บนคอมพิวเตอร์ดู หากใช้งานได้ก็แปลว่าตัวพอร์ตไม่รองรับ ทำให้ไม่สามารถเชื่อมต่อสัญญาณได้ตามปกติ หรืออาจเกิดจากหัวพอร์ตบนคอมพิวเตอร์เสียหาย ส่งผลให้เชื่อมต่อสัญญาณไม่ได้
  • เกิดจากสาย ขาด หัก หรืองอ ซึ่งหากสายขาดหรือหัก จึงหมายความเราจะไม่สามารถใช้งานสายเสียบ External Hard Disk ได้ แต่หากสายแค่งอ ก็ให้ลองปรับสายให้กลับมาตรงแบบเดิม ก็สามารถใช้งานได้อีกครั้งแล้ว
  • ชื่อไดร์ฟไปชนกับไดร์ฟที่มีอยู่แล้วก่อนหน้าบนเครื่องคอมพิวเตอร์ จึงไม่สามารถอ่านค่า External Hard Disk ได้ 
วิธีแก้เมื่อเสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น

วิธีแก้เมื่อเสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น

1.เสียบหัวสายพอร์ตให้แน่นสนิท

สำหรับวิธีการแรกที่ควรนึกถึงเป็นเมื่อเสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น ก็คือ ตรวจสอบบริเวณหัวสายพอร์ตให้แน่นสนิททุกครั้งที่ใช้งาน ไม่ให้เกิดการโยก เบี้ยว หัก หรืองอ หากหักให้แนะนำให้เปลี่ยนสาย External Hard Disk เส้นใหม่

2.ตรวจสอบสาย USB

ก่อนการใช้งาน External Hard Disk ควรตรวจสอบสาย External Hard Disk ก่อนว่าหัก งอ ขาด เบี้ยว หรือโยกไหม หากพบว่าสายชำรุดก็ให้เปลี่ยนมาใช้งานเส้นใหม่ แต่หากสายแค่งอก็ให้ปรับให้ตรง เพียงแค่นี้ก็สามารถนำกลับมาใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกครั้งแล้ว แต่หากปรับสายแล้วแต่ก็ยังไม่ขึ้น ก็หมายความว่าเราควรเปลี่ยนสาย USB ใหม่

3.เปลี่ยนไปใช้ USB พอร์ตอื่น

เพราะบางครั้งสาเหตุที่ External Hard Disk เสียบแล้วไม่ขึ้นก็มีสาเหตุมาจากพอร์ต แน่นอนว่าพอร์ตอาจเกิดความเสียหายได้ หากเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณมีหลายพอร์ต ก็ให้ลองเปลี่ยนพอร์ต USB ไปใช้งานช่องอื่น หรือลองเปลี่ยนคอมพิวเตอร์ หากใช้งานกับ Mac ที่ต่อสาย USB ผ่าน Docking ให้ลองเปลี่ยนมาต่อตรงกับคอมพิวเตอร์โดยที่ไม่ผ่านตัวพ่วงดู

เปลี่ยนไปใช้ USB พอร์ตอื่น

4.เพิ่มไดร์ฟใหม่ในกรณีที่ไดร์ฟชนกัน

ให้ค้นหา Management เลือก Computer Management เมื่อเข้ามาแล้วให้ดูที่ Disk Management ในหัวข้อ Storage บริเวณกรอบด้านล่างขวาจะมีรายการของ USB ไดร์ฟต่าง ๆ รวมถึง External Hard Disk ที่เราใช้งานอยู่ จากนั้นคลิกขวาที่ไดร์ฟของ External Hard Disk เลือก Change drive letter and paths… คลิก Add เลือกชื่อไดร์ฟที่ว่างจากหัวข้อ Assign the following drive letter เพียงเท่านี้ External Hard Disk ก็จะขึ้นมาพร้อมชื่อไฟล์ที่เราตั้งขึ้นมาแล้ว

5.อัปเดต Driver

ให้เลือกปุ่ม Windows + X เลือกที่ Device Management ให้เลือกดูในส่วนของ Disk Drive ว่ามีไดร์ฟเกี่ยวกับ Harddisk หรือ Flashdrive แสดงขึ้นมาไหม ซึ่งส่วนใหญ่แล้วจะแสดงขึ้นอย่างแน่นอน แต่ในบางครั้งก็อาจจะแสดงขึ้นพร้อมกับเครื่องหมายอัศเจรีย์ (!) หรือที่หลายคนเข้าใจว่าเครื่องหมายตกใจ หากมีเครื่องหมายนี่แสดงอยู่ก็หมายถึงมีปัญหาที่เกิดจากตัวเครื่องที่ไม่รู้จักกับอุปกรณ์ใหม่ ให้คลิกขวาเลือก Update Driver จากนั้นให้ทำความขั้นตอนต่าง ๆ ให้เรียบร้อย เพียงเท่านี้ข้อมูลอันมีค่าของคุณก็จะแสดงขึ้นเหมือนเดิมแล้ว

เปลี่ยน External Hard Disk อันใหม่

6.เปลี่ยน External Hard Disk อันใหม่

ในกรณีนี้ถือเป็นวิธีการสุดท้ายที่เชื่อว่าหลายคนนึกถึง และไม่อยากให้เกิดขึ้นมากที่สุด เพราะอยากใช้งานให้ได้ยาวนานและคุ้มค่าคุ้มราคากับเงินที่เสียไป แต่สำหรับใครที่ไม่อยากซื้อ External Hard Disk อันใหม่ก็อาจส่งให้ผู้เชี่ยวชาญซ่อมได้

สรุปปัญหาเสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น

จะเห็นได้ว่าปัญหาที่เสียบ External Hard Disk แล้วไม่ขึ้น มีสาเหตุมาจากหลายสาเหตุ เมื่อเกิดปัญหาแล้วก็ควรที่จะเร่งหาสาเหตุเพื่อหาวิธีการแก้ไข เพื่อให้ External Hard Disk กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง แต่นี่ก็เป็นเพียงวิธีการแก้ไขเบื้องต้นเท่านั้น เพื่อความชัวร์เราจึงควรทำการ Back Up ไฟล์เอาไว้เสมอ อาจจะเป็นการ Backup ผ่าน iCloud, Google Drive, Dropbox ฯลฯ ก็ได้เช่นกัน