ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่ทันสมัย บวกกับวิถีชีวิตที่ผู้คนที่ใช้สมาร์ทโฟนจนเรียกได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปแล้ว การพิมพ์ค้นหาชื่อเว็บไซต์, ชื่อร้าน, พิกัดสถานที่ ไปจนถึงการพิมพ์เลขบัญชีเพื่อโอนเงิน กลายเป็นความล่าช้าในยุคที่ความเร่งรีบบีบหนักเข้ามา จึงมีการเริ่มใช้ตัวช่วยที่เรียกว่า QR Code ขึ้นมาทดแทนอักขระต่าง ๆ เหล่านั้น ให้แสดงข้อมูลที่รวดเร็วและทันยุค
ซึ่งการพัฒนาตัวช่วยยุคใหม่ที่เรียกว่าคิวอาร์โค้ด (QR Code) และกลายเป็นที่นิยมมากขึ้น เพราะมีความรวดเร็วในการใช้งาน ใช้วิธีสแกนจากมือถือ ก็สามารถเข้าถึงสิ่งที่ต้องการได้แล้ว เหมาะสำหรับเจ้าของกิจการทั้งขนาดเล็กไปจนถึงขนาดใหญ่ ใครที่ทำธุรกิจแต่ยังไม่มีคิวอาร์โค้ดเป็นของตัวเอง แนะนำว่าเว็บไซต์สร้าง QR Code แบบฟรี ๆ ทำเองได้ง่ายนิดเดียวที่ https://qrcodeinthai.com/ แถมยังใช้งานได้ตลอดชีพ ไม่มีวันหมดอายุอีกด้วย
วิธีสร้าง QR Code สำหรับใช้งาน
1.เมื่อเปิดเว็บไซต์ qrcodeinthai.com ขึ้นมาแล้ว ให้ทำการเลือกประเภทของคิวอาร์โค้ดที่ต้องการ เช่น URL, Content, Email เป็นต้น ซึ่งจะช่วยให้ระบบสร้างคิวอาร์ที่แม่นยำ โดยจะมีช่องสำหรับกรอกข้อมูลตามประเภทของรายการที่ต้องการสร้าง
2.ให้ทำการเลือกสีพื้นหลังของคิวอาร์โค้ดที่ต้องการ แต่ถ้าไม่เลือกจะมีค่ามาตรฐานเป็นพื้นหลังสีขาวไว้ให้ แนะนำว่าให้ใช้เป็นพื้นหลังสีขาวจะดีกว่าสีอื่น ซึ่งอาจกลืนไปกับภาพคิวอาร์โค้ด ทำให้สแกนได้ยาก
3.กรณีที่ต้องการสร้างการรับรู้แบรนด์ หรือการแบ่งประเภทของคิวอาร์โค้ด สามารถอัพโหลดโลโก้หรือภาพนำไปสร้างเพิ่มเติมได้
4.จากนั้นให้วางรายละเอียดของข้อมูลที่ต้องการเปลี่ยนให้ภาพคิวอาร์โค้ด
5.เมื่อกรอกรายละเอียดทั้งหมดแล้ว กดไปที่ปุ่ม “สร้าง QR Code”
6.ระบบจะทำการสร้างภาพ QR Code เฉพาะของคุณขึ้นมา เมื่อเรียบร้อยแล้ว สามารถดาวน์โหลดมาเก็บไว้ ซึ่งจะอยู่ในรูปแบบไฟล์ PNG และ SVG ให้เลือกชนิดที่ต้องการนำไปใช้งานได้เลย
ชวนทำความรู้จัก QR Code คืออะไร?
คิวอาร์โค้ด(QR Code) คือ บาร์โค้ดประเภทหนึ่งมาจากชื่อภาษาอังกฤษแบบเต็ม ๆ คือ Quick Respone Code บาร์โค้ดแบบ 2 มิติที่สามารถเก็บข้อมูล เช่น ลิงก์เว็บไซต์ ข้อความ หรือรายละเอียดการติดต่อ ไปจนถึงข้อมูลอื่นได้อีกอย่างหลากหลาย และเก็บข้อมูลได้มาก คิดค้นขึ้นครั้งแรกในปี ค.ศ.1994 โดยชาวญี่ปุ่นนามว่า Masahiro Hara จากบริษัท Denso Wave การออกแบบเริ่มแรกได้รับอิทธิพลมาจากชิ้นส่วนขาวดำบนกระดานโกะ เพื่อใช้เป็นฉลากของชิ้นส่วนยานยนต์ ได้รับความนิยมในอุตสาหกรรม ก่อนจะแพร่หลายไปยังธุรกิจอื่น ๆ
ปัจจุบันรหัส QR ถูกนำมาใช้ในบริบทที่กว้างกว่ามาก ซึ่งรวมถึงทั้งแอปพลิเคชันติดตามเชิงพาณิชย์และแอปพลิเคชันที่เน้นความสะดวกซึ่งมุ่งเป้าไปที่ผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ หรือเรียกว่า “การติดแท็กมือถือ” โดย QR อาจใช้งานเพื่อแสดงข้อความให้แก่ผู้ใช้เพื่อเปิดหน้าเว็บฯ ไปจนถึงการใช้เชื่อมต่ออุปกรณ์กับเครือข่ายไร้สาย เช่น Wifi หรือกล้องวงจรปิดแบบไร้สาย เป็นต้น การเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ใช้คิวอาร์โค้ดเกิดขึ้นตั้งแต่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เพื่อลดการสัมผัส จึงมีการนำเอาเทคโนโลยีชนิดนี้มาใช้เพื่อจ่ายเงิน ไม่ว่าจะร้านค้าปลีกขนาดเล็ก หรือในห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่
ส่วนประกอบของรหัสจะประกอบด้วยสี่เหลี่ยมสีดำหลายขนาด วางอยู่บนพื้นหลังขาว กรอบด้านนอกเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้วยรูปแบบที่ต่างกันออกไปตามข้อมูลที่ใส่เข้าไป ต้องอ่านด้วยเครื่องสแกน หรือกล้องโทรศัพท์เท่านั้น ซึ่งการอ่านด้วยกล้องมือถือ เราจะเรียกว่า QR Code Real-time Reader คือเมื่อส่องไปยังรหัส ก็จะอ่านได้ทันที และอีกแบบคือ Snapshot หรือ Capture ซึ่งจะต้องเปิดโปรแกรมที่ใช้อ่านโดยเฉพาะขึ้นมา แล้วนำภาพ QR ไปวาง หรือการถ่ายภาพ QR ไว้ด้วยกล้องมือถือ แล้วนำมาอ่านประมวลผลด้วยแอปพลิเคชันอีกที
เพราะฉะนั้นการใช้งาน เพียงแค่สแกนคิวอาร์โค้ดโดยใช้กล้องของสมาร์ทโฟนหรือแอปฯ ตัวอ่านคิวอาร์โค้ด ระบบจะนำคุณไปยังข้อมูลที่จัดเก็บไว้ได้ในทันที
QR แตกต่างจากบาร์โค้ดแบบเดิมอย่างไร?
ความแตกต่างของรหัสภาพทั้งสองชนิดนั้น มีรายละเอียดที่ตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ซึ่งบาร์โค้ดแบบเดิมจะมีลักษณะเป็นแท่งตรง มีขนาดหนาบางต่างกันออกไป โดยเส้นดังกล่าวจะเป็นสีดำวางอยู่บนพื้นหลังสีขาว เป็นแบบ 1 มิติ สามารถบรรจุข้อมูลได้ค่อนข้างจำกัด คือไม่เกิน 20 ตัวอักษร นิยมใช้เรียกข้อมูลจากฐานข้อมูล ซึ่ง 1 บาร์โค้ด จะใช้สำหรับ 1 ข้อมูลสินค้า อย่างการใช้เพื่อระบุราคาสินค้าที่เราพบเห็นได้ทั่วไป
ในขณะที่คิวอาร์โค้ดเป็นแบบ 2 มิติ ทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส สามารถใช้งานได้หลากหลาย และมีข้อจำกัดน้อยกว่ามาก เพราะไม่มีการจำกัดตัวอักษร จึงสามารถย่อข้อมูลยาว ๆ อย่างเช่น URL หรือข้อความ ที่อาจมีความยาว และจดจำได้ยาก เอามารวมใส่ไว้ในภาพ ๆ เดียวได้ และหากต้องการดูรายละเอียด ก็เพียงแค่สแกนผ่านสมาร์ทโฟนเท่านั้น ก็เข้าถึงได้ แน่นอนว่าสิ่งเหล่านี้ระบบบาร์โค้ดจะไม่สามารถทำได้
สรุปให้เข้าใจแบบสั้น ๆ เลยก็คือบาร์โค้ดเน้นใช้งานเพื่อดึงข้อมูลจากฐานข้อมูลออกมา มีข้อจำกัดเพราะเก็บข้อมูลได้แค่ในแนวดิ่งเท่านั้น เน้นใช้งานเพื่อคิดเงิน จำแนกสินค้าภายในห้างสรรพสินค้า ซึ่งมีความเร็วในการอ่านข้อมูล และใช้ในการติดตามพัสดุเป็นหลัก ส่วนระบบคิวอาร์โค้ด จะเก็บข้อมูลได้ทั้งแบบแนวดิ่งและแนวขวาง ทำให้มีความซับซ้อน จึงช่วยเก็บข้อมูลในปริมาณมากกว่าได้ นำไปประยุกต์ใช้ได้หลากหลายกว่า แต่ทั้งนี้ก็มีประโยชน์ต่างกัน ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของผู้ใช้
QR Code สามารถนำไปใช้งานอย่างไรได้บ้าง?
คิวอาร์โค้ด มีการนำไปประยุกต์ใช้อย่างหลากหลายด้าน ซึ่งที่ได้รับความนิยมใช้กันในกลุ่มธุรกิจต่าง ๆ มีดังนี้
1.ใช้สำหรับการสแกนจ่ายเงิน
ประโยชน์หลักอย่างหนึ่งที่นิยมใช้ คือ เพื่อระบบการชำระเงิน สามารถสแกนคิวอาร์โค้ด ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดายโดยใช้อุปกรณ์เคลื่อนที่ ทำให้ไม่จำเป็นต้องใช้เงินสดหรือบัตรเครดิต เพียงแค่มีสมาร์ทโฟน และแอปพลิเคชั่นสำหรับจ่ายเงิน สิ่งนี้ก็สามารถช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการทำธุรกรรม แบบไม่ต้องรอนาน หรือที่เราเรียกกันว่า Cashless payment นั่นเอง
2.ใช้เพื่อการตลาดและการโฆษณา
คิวอาร์โค้ดเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการทำการตลาด ด้วยการวางคิวอาร์โค้ดไว้ตามสื่อสิ่งพิมพ์ หรือช่องโฆษณาบนจอโทรทัศน์ หรือตามสื่อออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งนักการตลาดจะใช้เพื่อให้ผู้บริโภคเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้ทันที อีกทั้งเป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการเข้าชมเว็บไซต์ หรือช่องทางโซเชียลมีเดียได้ง่ายขึ้น
3.ใช้จัดการคลังสินค้าให้เกิดความแม่นยำ
เป็นหนึ่งในการประยุกต์ใช้ที่มีประโยชน์ และเกิดความรวดเร็วอย่างมาก ด้วยการทำระบบเช็คสต็อก สามารถทำให้รู้จำนวนสินค้าแบบเรียลไทม์ ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มธุรกิจค้าส่งหรือค้าปลีก เพื่อช่วยให้สินค้าพร้อมจำหน่าย คาดการณ์สินค้าคงคลังได้แม่นยำมากขึ้น
4.ใช้สแกนเพื่อยืนยันข้อมูล
การยืนยันข้อมูลด้วยระบบคิวอาร์โค้ดเหมาะสำหรับนำไปใช้งานเพื่อยืนยันการจองที่พัก, ร้านอาหาร, สั่งจองสินค้าหรือบริการ, ตั๋วเครื่องบิน เป็นต้น โดยลูกค้าสามารถสแกนคิวอาร์ผ่านระบบ เพื่อยืนยันข้อมูลชื่อและการชำระเงิน แบบไม่จำเป็นต้องพกเอกสาร หรือต้องไปปริ้นต์ตั๋วเพื่อมายืนยันแบบสมัยก่อน
ข้อดีของการใช้ QR Code ในแคมเปญการตลาดที่คุณควรรู้
1.QR Code หรืออาจเรียกว่ารหัสการโต้ตอบชนิดเร่งด่วน ซึ่งมีลักษณะเป็นภาพสองมิติ สามารถใช้กล้องมือถือสแกนเพื่อเข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้นจึงเป็นที่นิยมอย่างมากในแคมเปญการตลาดต่าง ๆ เนื่องจากสามารถเข้าถึงได้ง่าย และรวดเร็วทันใจ
2.การใช้คิวอาร์โค้ดชนิดนี้ในการทำแคมเปญการตลาด ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือใหญ่ จะช่วยให้เกิดการโต้ตอบกับผู้บริโภคได้มากขึ้น เช่น การสร้าง QR ลิงค์ไปยังหน้าเว็บไซต์ที่บอกรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ลูกค้าสามารถเข้าถึงข้อมูลเพิ่มเติมเพียงแค่สแกน โดยไม่จำเป็นต้องค้นหา หรือแม้กระทั่งการสแกนเพื่อดูวิดีโอ, เมนูอาหาร, โปรโมชั่น ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ช่วยเพิ่มการมีส่วนร่วม ทำให้แบรนด์น่าจดจำได้ดียิ่งขึ้น
3.การใช้คิวอาร์โค้ดในแคมเปญการตลาด คือ ช่วยให้สามารถติดตามพฤติกรรมผู้บริโภคได้แม่นยำยิ่งขึ้น นักการตลาดสามารถใช้เครื่องมือวิเคราะห์เพื่อติดตามว่าคิวอาร์โค้ดถูกสแกนเมื่อใดและที่ใด ซึ่งจะช่วยในการแจ้งกลยุทธ์ทางการตลาดในอนาคตและปรับปรุงการกำหนดเป้าหมายได้
4.สามารถใช้รหัสคิวอาร์โค้ด เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการขาย ด้วยการใส่รหัส QR บนผลิตภัณฑ์ ทำให้ผู้บริโภคสามารถเข้าถึงข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ได้อย่างรวดเร็วและง่ายดาย เช่น ราคาและการวางจำหน่าย โดยไม่ต้องค้นหาบนเว็บไซต์ให้ยุ่งยากแบบเดิมอีกต่อไป สิ่งนี้สามารถช่วยปรับปรุงกระบวนการจัดซื้อและทำให้ลูกค้าเกิดความประทับใจ
ประเภทของ QR Code มีกี่แบบ แต่ละแบบต่างกันอย่างไรบ้าง?
การจัดแบ่งประเภทของคิวอาร์โค้ด ถูกแบ่งออกเป็น 6 ประเภทหลักด้วยกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1.Standard QR Code
เป็น QR ที่พบมากที่สุดและสามารถนำไปใช้กับแอปพลิเคชันได้หลากหลาย สามารถเก็บข้อมูลตัวเลขได้สูงสุด 7,089 ตัวเลข และถ้าเป็นตัวอักษรกับตัวเลขจะได้อยู่ที่ 4,296 ตัว
2.Micro QR Code
รหัสเหล่านี้มีขนาดเล็กกว่า QR มาตรฐานและมักใช้ในแอปพลิเคชันที่มีพื้นที่จำกัด สามารถใส่อักขระที่เป็นตัวเลขได้สูงสุด 35 ตัว หรือตัวอักษรและตัวเลขคละกันได้สูงสุด 21 ตัว
3.Secure QR Code
QR เหล่านี้ใช้การเข้ารหัสเพื่อป้องกันข้อมูลที่มีอยู่จากการเข้าถึงโดยผู้ใช้ที่ไม่ได้รับอนุญาต มักใช้กับแอปพลิเคชัน เช่น ระบบการชำระเงิน หรือการควบคุมการเข้าถึง เป็นต้น
4.iQR Code
รูปแบบของรหัสมีรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้ามากกว่ารหัส QR มาตรฐาน จะปรากฎให้เห็นในสี่เหลี่ยมสองมิติด้านใน สามารถเก็บข้อมูลตัวเลขได้สูงสุด 1,296 ตัว หรือข้อมูลตัวอักษรและตัวเลข 709 ตัว มักใช้ในแอปพลิเคชัน เช่น การจองตั๋ว หรือคูปอง เป็นต้น
5.Frame QR Code
เป็น QR ที่สามารถใช้เพื่อแสดงข้อมูลเพิ่มเติมหรือสร้างแบรนด์ได้ มักใช้ในแอปพลิเคชันโฆษณาหรือการตลาด เพราะวางรูปโลโก้ หรือภาพสินค้าตรงกลางได้
6.Custom QR Code
QR ที่สามารถปรับแต่งได้เองตามต้องการ ทำได้โดยการเปลี่ยนสี เพิ่มโลโก้หรือรูปภาพ หรือเปลี่ยนรูปร่างของตัวคิวอาร์โค้ดเอง โดยตัว QR แบบกำหนดเองสามารถใช้เพื่อวัตถุประสงค์ที่หลากหลาย เช่น แคมเปญโฆษณา นามบัตร บัตรเชิญร่วมงาน เป็นต้น ซึ่งทำให้เกิดความโดดเด่น นอกจากนี้ยังช่วยสร้างภาพลักษณ์ให้ดูมีความเป็นมืออาชีพมากขึ้น
ใครที่ทำธุรกิจและยังไม่มี QR code เป็นของตัวเอง ไม่ว่าจะใช้งานในการชำระเงิน, ติดต่อสื่อสาร หรือการเชื่อมต่อกับระบบเว็บไซต์ ควรวางแผนการตลาดในด้านนี้เอาไว้ เพื่อไม่ให้เป็นธุรกิจที่ล้าสมัย ด้วยการเลือกสร้างรหัส QR ด้วยตัวเองผ่านเว็บไซต์ฟรี บอกเลยว่านี่จะเป็นตัวสะท้อนความทันสมัย และช่วยให้ลูกค้าของคุณประทับใจมากยิ่งขึ้นอีกด้วย