12 วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ เมื่อเปียกน้ำฝน ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง
12 วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ เมื่อเปียกน้ำฝน ให้กลับมาใช้งานได้อีกครั้ง

ปัจจุบันโทรศัพท์มือถือหลายรุ่น มีการพัฒนาให้สามารถกันน้ำได้ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ามันสามารถกันน้ำได้ 100% หลายคนกังวลใจว่าจะทำอย่างไร เมื่อเราอยู่ในเหตุการณ์ที่โทรศัพท์เปียกฝนหรือมีน้ำเข้าครับ

คลิกอ่านหัวข้อที่สนใจ

หากโทรศัพท์ของเราเปียกน้ำ ถ้าปล่อยทิ้งไว้นาน มือถืออาจเสียหายหรือใช้งานไม่ได้อีกเลยครับ หากเหตุการณ์แย่ ๆ แบบนี้กิดขึ้น เราจะมีวิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ อย่างไรบ้าง Itnews24hrs ได้สรุปข้อมูลมาให้แล้วในบทความนี้ครับ

โทรศัพท์เปียกฝน เปียกน้ำ ใช้งานได้หรือไม่ ?

เนื่องจากภายในโทรศัพท์มือถือมีวงจรขนาดเล็กและซับซ้อนมาก เมื่อโทรศัพท์เปียกฝนหรือโทรศัพท์เปียกน้ำไม่ควรนำไปใช้งาน เพราะเสี่ยงทำให้โทรศัพท์ของเราพัง อาจเกิดการลัดวงจร รวมถึงอุปกรณ์อื่น ๆ ได้รับความเสียหายตามไปด้วย 

นอกจากนี้ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือที่เปียกน้ำ ไปชาร์จแบตเตอรี่โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้วงจรต่าง ๆ เกิดการช็อต หรือเกิดการระเบิดได้ครับ 

อันตรายจากการใช้โทรศัพท์เปียกน้ำ
การใช้โทรศัพท์เปียกน้ำ อาจเสี่ยงไฟช็อต ไฟดูด ไฟลัดวงจร

อันตรายจากการใช้โทรศัพท์เปียกน้ำ

หากเรานำโทรศัพท์ที่เปียกน้ำมาใช้งาน เสี่ยงที่จะทำให้โทรศัพท์ของเราได้รับความเสียหาย เช่น 

  • โทรศัพท์เปียกน้ำเกิดไฟฟ้าลัดวงจร
  • การเกิดเพลิงไหม้สถานที่อยู่อาศัย
  • ถูกไฟฟ้าช็อต ไฟดูด จนได้รับบาดเจ็บ หรือเสียชีวิต

วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ ชุบชวิตมือถือให้ใช้งานได้อีกครั้ง

1. นำโทรศัพท์ออกจากพื้นที่เปียกทันที

เมื่อโทรศัพท์ของเราตกน้ำ ควรรีบตั้งสติ และควรหยิบโทรศัพท์ของเราออกจากพื้นที่เปียกทันที 

เพราะหากโทรศัพท์ของเราแช่น้ำนานเท่าไร ความเสียหายยิ่งรุนแรงมากขึ้นครับ

หากมีการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ ควรดึงออก และหยุดการเชื่อมต่อทันที เพื่อลดความเสียหายของวงจรเชื่อมต่อภายในหลังจากโทรศัพท์เปียกน้ำ และที่สำคัญ หลังจากนำโทรศัพท์ออกจากพื้นที่เปียกได้แล้ว ควรปิดเครื่องทันที

ห้ามเปิด ๆ ปิด ๆ เครื่องโทรศัพท์

2.ห้ามเปิด ๆ ปิด ๆ เครื่องโทรศัพท์

เมื่อโทรศัพท์ของเราเปียกน้ำไม่ควรเปิด ๆ ปิด ๆ เครื่องโทรศัพท์ รวมถึงปุ่มอื่น ๆ ที่อยู่บนตัวเครื่องอีกด้วย 

เนื่องจากความชื้นหรือน้ำ สามารถสร้างความเสียหายให้กับวงจรของโทรศัพท์ของเราได้ 

เพราะกระแสไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ มีการไหลเวียนภายในวงจร หากเรากดปุ่มต่าง ๆ หรือเปิด ๆปิด ๆ จะส่งผลทำให้โทรศัพท์ของเรามีการช็อตภายในวงจรได้ทันที

3. เช็กความเปียกว่ามาก-น้อยแค่ไหน

หากโทรศัพท์เปียกน้ำให้เช็กว่าโทรศัพท์มือถือของเราเปียกน้ำมาก-น้อยแค่ไหน 

โดยต้องรีบตรวจสอบว่าน้ำสามารถเข้าไปภายในตัวเครื่องได้หรือไม่ โดยตรวจสอบพอร์ตที่ชาร์จแบต หรือตัวลำโพงของโทรศัพท์ครับ

หากมีการตรวจสอบแล้ว ว่าไม่มีหยดน้ำไหลออกจากพอร์ตที่ชาร์จแบตมือถือมากจนเกินไป เราสามารถเช็ดให้แห้งและใช้งานได้ เนื่องจากโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ มี Seal ปิดผลึกป้องกันน้ำเข้าได้

ใช้ผ้าซับโทรศัพท์มือถือให้แห้ง

4. ใช้ผ้าซับโทรศัพท์มือถือให้แห้ง

การกู้ชีพโทรศัพท์มือถือที่ตกน้ำเพียงเล็กน้อย หรือตกในลักษณะไม่เกิน 10 วินาที โดยที่มือถือไม่จมน้ำ และโทรศัพท์สามารถทำงานได้ปกติ 

วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ คือ เราสามารถถอดเคสมือถือ เพื่อทำความสะอาดโดยการเช็ดให้แห้ง โดยใช้ผ้าไมโครไฟเบอร์ซับน้ำและความชื้นให้หมดไป ระหว่างการเช็ดทำความสะอาด ไม่ควรเคาะ หรือใช้อุปกรณ์งัดโทรศัพท์โดยเด็ดขาดครับ

5. เช็ดทำความสะอาดพอตเสียบ

การเช็ดทำความสะอาดพอตเสียบโทรศัพท์มือถือที่เปียกน้ำเพียงเล็กน้อย ควรเช็ดด้วยความระมัดระวัง โดยใช้กระดาษเช็ดมือหรือผ้านุ่ม ๆ ค่อย ๆ ทำการเช็ด เพื่อซับน้ำที่ตกค้างอยู่ในพอตช่องเสียบต่าง ๆ ของโทรศัพท์มือถือครับ

ซึ่งเราสามารถใช้คัตตอนบัต ช่วยทำความสะอาดเช็ดพอร์ตช่องเสียบต่าง ๆ ของมือถือได้ แต่ต้องใช้ความระมัดระวัง เพราะอาจทำให้เศษของสำลี เข้าไปอุดตันภายในพอตของโทรศัพท์มือถือได้

เช็ดทำความสะอาดพอตเสียบ

6. หากเปียกเยอะ ให้ปิดมือถือทันที

ในกรณีโทรศัพท์ของเราเปียกน้ำเยอะ หรือมีการจมน้ำมากกว่า 30 วินาทีขึ้นไป ถ้าเครื่องยังไม่ดับ ให้ปิดมือถือทันที รวมถึงไม่ควรกดปุ่มใด ๆ ทั้งสิ้นครับ

เพื่อป้องกันไม่ให้โทรศัพท์ที่จมน้ำเกิดการลัดวงจร และลดความเสียหายของอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ หากยังไม่สามารถใช้งานได้ วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ คือ ควรส่งซ่อมกับศูนย์บริการ หรือร้านซ่อมโทรศัพท์ให้เร็วที่สุด

7. เก็บมือถือเปียกในถุงสุญญากาศ

เมื่อโทรศัพท์มือถือของเราเปียกน้ำควรรีบปิดเครื่องทันที และถอดเคสโทรศัพท์มือถือออก ถ้าเรามีถุงสูญญากาศก็อาจช่วยชุบชีวิตมือถือของเราได้ครับ

โดยการใส่มือถือเปียกน้ำไว้ในถุงสูญญากาศ เพื่อกำจัดความชื้น จากนั้นให้เราใช้เครื่องดูดอากาศ ดูดความชื้นออกจากตัวเครื่องผ่านถุงสูญญากาศอีกที 

อย่างไรก็ตาม ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือไปใส่ในถุงข้าวสาร เพราะอาจมีเศษข้าวหรือเศษฝุ่นผงเข้าไปอัด หรืออุดตันภายในเครื่อง ซึ่งอาจสร้างความเสียหายตามมาได้ครับ

ถอดซิม SD Card หรือแบตเตอรี่

8. ถอดซิม SD Card หรือแบตเตอรี่

เมื่อโทรศัพท์มือถือเปียกน้ำ ในกรณีโทรศัพท์มือถือเป็นรุ่นเก่า สามารถถอดแบตเตอรี่ ถอดซิม และ SD Card  ออกมาได้ 

วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ในข้อนี้ คือ ควรถอดแบตเตอรี่ ซิมการ์ด และ SD Card ออกมาให้หมด เพื่อทำความสะอาดและเช็ดให้แห้ง 

นอกจากนี้ควรจัดเก็บชิ้นส่วนที่ถอดออกมาให้ดี เพื่อให้เรานำกลับมาประกอบได้ง่าย ไม่ต้องยุ่งยากในการหาในครั้งต่อไป 

ส่วนมือถือรุ่นใหม่ที่ไม่สามารถถอดอุปกรณ์เหล่านี้ออกได้ ควรปิดเครื่องให้เร็วที่สุด แล้วลองทำตามวิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ในข้ออื่นๆ  ดูครับ หากยังใช้งานไม่ได้ให้รีบนำส่งศูนย์ซ่อมทันที

9. ใช้ไดร์เป่าผม เป่าลมเบา ๆ

เมื่อโทรศัพท์เปียกน้ำเพียงเล็กน้อย เราสามารถเช็ดทำความสะอาดและใช้ไดร์เป่าผม เป่าลมเบา ๆ ได้ครับ

แต่การใช้ไดร์เป่าผมจำเป็นต้องเป่าด้วยลมเบา ๆ ควรปรับลมร้อนให้พอดี หรือใช้ลมตามอุณหภูมิห้อง เพื่อป้องกันการลัดวงจรของโทรศัพท์มือถือ 

หรือสามารถใช้พัดลมเป่าให้ตัวเครื่องแห้งสนิทได้ ข้อแนะนำ คือ ไม่ควรใช้ไดร์เป่าผม เป่าเป็นระยะเวลานาน ติดต่อกัน เพราะอาจทำให้เครื่องได้รับความร้อนมากจนเกินไป ส่งผลทำให้แผงวงจรเกิดความเสียหาย และอุปกรณ์อื่น ๆ เสียหายตามไปด้วย

ควรเป่าลมประมาณ 5-7 วินาที แล้วหยุดเป่า จากนั้นค่อยเริ่มเป่าลมใหม่ครับ

ถอดเคสโทรศัพท์ออกทันที งดใส่เคสชั่วคราว

10. ถอดเคสโทรศัพท์ออกทันที งดใส่เคสชั่วคราว

เมื่อโทรศัพท์มือถือตกน้ำหรือเปียกน้ำ ควรให้รีบถอดถอดเคสโทรศัพท์ออกทันทีครับ 

และงดการใส่เคสชั่วคราว เพราะจะทำให้น้ำที่อยู่ภายในตัวเครื่องไหลออกมาไม่สะดวก อาจไปปิดกั้นกันไหลของน้ำที่อยู่ภายในตัวเครื่อง หรือปิดกั้นการระเหยของความชื้นภายในตัวเครื่องได้ 

ดังนั้นเมื่อโทรศัพท์ตกน้ำไม่ควรใส่เคสชั่วคราวโดยเด็ดขาด!

11. วางโทรศัพท์ในสถานที่แห้ง ปลอดโปร่ง

วิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ด้วยการวางโทรศัพท์ในสถานที่แห้ง ปลอดโปร่ง ช่วยให้โทรศัพท์ของเราแห้งได้เร็วขึ้นครับ ซึ่งเราควรทำหลังจากที่เช็ดทำความสะอาด และถอดเคสออกเรียบร้อยแล้ว

เพราะลมจากธรรมชาติจะช่วยพัดความชื้น และไอระเหยภายในโทรศัพท์ได้เป็นอย่างดี โดยที่ไม่ทำลายโทรศัพท์ของเรา 

แต่มีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรวางโทรศัพท์ไว้กลางแดดโดยเด็ดขาดครับ! เพราะอาจทำให้วงจรภายในได้รับความเสียหายจากความร้อนได้

ห้ามชาร์จมือถือหากไม่มั่นใจ

12. ห้ามชาร์จมือถือหากไม่มั่นใจ

มือถือรุ่นใหม่ ๆ เมื่อมีความชื้นตกค้างอยู่ในพอร์ตเชื่อมต่อต่าง ๆ หากได้รับกระแสไฟเข้าไป จะมีการเตือนและช่วยหยุดการชาร์จทันทีครับ

แต่สำหรับโทรศัพท์มือถือรุ่นเก่า หากไม่มั่นใจว่าโทรศัพท์มือถือมีความชื้น หรือมีน้ำอยู่ภายในหรือไม่ ? เราควรชะลอการชาร์จออกไปก่อน จนแน่ใจว่าโทรศัพท์สามารถใช้งานได้ 

ถ้าหากเราชาร์จมแบตโดยที่มีน้ำหรือความชื้นอยู่ภายในโทรศัพท์ กระแสไฟจากแบตเตอรี่ จะทำให้เกิดการลัดวงจรของบอร์ดโทรศัพท์ หรืออาจเกิดการระเบิดจากแบตโทรศัพท์มือถือได้ครับ ซึ่งเป็นสิ่งอันตรายมาก ๆ

โทรศัพท์มือถือกันน้ำ เปียกน้ำได้ไหม ?

โทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่ ๆ มีระบบซีลกันน้ำตามมาตรฐานต่าง ๆ ครับ

เช่น IPX7 และ  IPX8 สามารถป้องกันน้ำเข้าตัวเครื่องได้ในระดับความลึกไม่เกิน  1-1.5 เมตร ในระยะ 30 นาที 

หากโทรศัพท์มือถือของเราตกน้ำในความลึกที่มากกว่านั้น หรือตกน้ำในระยะเวลาที่นานกว่านั้น จะทำให้โทรศัพท์ของเราเกิดความเสียหายได้ ทางที่ดีที่สุดควรดูแลโทรศัพท์ของเราให้ดีเมื่ออยู่ใกล้แหล่งน้ำ และไม่ควรให้เปียกน้ำจะดีที่สุดครับ

โทรศัพท์เปียกน้ำ ควรใส่ถังข้าวสารหรือไม่

โทรศัพท์เปียกน้ำ ควรใส่ถังข้าวสารหรือไม่ ?

เมื่อโทรศัพท์ของเราเปียกน้ำ ไม่ควรนำโทรศัพท์ใส่ในถังข้าวสาร ตามความเชื่อครับ!

อย่างแรกที่ควรทำเมื่อโทรศัพท์มีน้ำเข้า คือ ถอดเคสหรืออุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ ออกทันที จากนั้นนำโทรศัพท์ไปเป่าลมหรือวางไว้ในที่โล่งรอจนให้แห้ง 

ไม่ควรนำโทรศัพท์มือถือไปใส่กับข้าวสาร เพราะจะทำให้เศษข้าวสาร หรือฝุ่นของข้าวสาร เข้าไปภายในวงจรของโทรศัพท์ ซึ่งอาจทำให้โทรศัพท์ของเราเกิดความเสียหายได้

เราควรรณรงค์หยุดความเชื่อนี้ครับ โทรศัพท์เปียกน้ำ ไม่ควรนำไปใส่ในถังข้าวสาร!

สรุปเรื่องวิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์

โทรศัพท์มือถือเปียกน้ำ เป็นเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด และคงไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้นครับ แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว เราต้องมีสติ อย่ามัวแต่ตกใจจนทำอะไรไม่ถูก ให้รีบนำโทรศัพท์ออกจากที่เปียกให้เร็วที่สุด 

หลังจากนั้นควรถอดอุปกรณ์เชื่อมต่อทุกชนิด ออกจากตัวเครื่องโทรศัพท์ ให้ถอดเคสโทรศัพท์เพื่อระบายน้ำหรือความชื้นออก ปิดเครื่องทันที ห้ามกดปุ่มใด ๆ ห้ามนำไปชาร์จแบตเด็ดขาด! 

ซึ่งผู้อ่านทุกคนสามารถลองทำตามวิธีแก้ไขน้ำเข้าโทรศัพท์ ที่เราแนะนำในข้างต้นดูได้ครับ อาจช่วยชุบชีวิตมือถือของเรรให้กลับมาใช้งานตามปกติได้ แต่ถ้ายังไม่ดีขึ้นเราขอแนะนำส่งร้านซ่อมหรือส่งศูนย์จะดีที่สุด