Hosting คืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท เลือกใช้บริการโฮสติ้งที่ไหนดี ?

Web Hosting คืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท
Hosting คืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท เลือกใช้บริการโฮสติ้งที่ไหนดี

หากมีการทำเว็บไซต์ แน่นอนว่าสิ่งที่ไม่สามารถมองข้ามได้ก็คือการจดทะเบียน Hosting และ Domain เพราะทั้ง 2 อย่างนี้จะช่วยทำให้เว็บไซต์สามารถออนไลน์อยู่บนโลกอินเตอร์เน็ต แต่ก็อาจมีหลายคนที่กำลังสงสัยเกี่ยวกับการจดทะเบียน Hosting ดังนั้นบทความนี้ Itnews24hrs จะพาไปทำความรู้จักกับ Hosting ให้มากขึ้นว่าคืออะไร มีทั้งหมดกี่ประเภท

Hosting คืออะไร

Hosting คือ พื้นที่สำหรับจัดเก็บข้อมูลในเว็บไซต์ทั้งหมด หากไม่มีพื้นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ของเราจะออนไลน์ไม่ได้ สำหรับการใช้ Hosting เก็บข้อมูลต่าง ๆ จะใช้บริการในรูปแบบของการเช่าพื้นที่จากบริษัทเว็บ Hosting ที่น่าเชื่อถือ และมีบริการด้านการ Support ที่ตอบโจทย์กับความต้องการของคุณ

Hosting มีทั้งหมดกี่ประเภท

1.Shared Hosting

เป็น Hosting ที่เหมาะสำหรับเว็บไซต์ทั่วไป จะมีการให้บริการที่คล้ายกับกับการมีรูมเมท เพราะเป็น Web Hosting ที่จะทำการเก็บเว็บไซต์หลายเว็บไซต์เอาไว้ในเครื่องเดียวกัน ทำให้เป็นประเภทของ Hosting ที่เหมาะสำหรับคนที่เริ่มทำเว็บไซต์ส่วนตัว หรือเว็บไซต์ที่ไม่มีคนเข้าชมหลักแสน และที่สำคัญก็ยังราคาที่ไม่สูงด้วย

2.VPS Hosting

VPS Hosting ย่อมาจาก Virtual Private Server เป็นที่เก็บเว็บไซต์หลายเว็บไซต์เอาไว้ แต่จะมีการใช้ Software ช่วยป้องกันไม่ให้เว็บไซต์อื่นเข้ามาแย่งทรัพยากรจากเว็บไซต์เราไปได้ หรืออธิบายให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เหมือนกับการอยู่คอนโดเดียวกับคน แต่ไม่ต้องแชร์สิ่งอำนวยความสะดวกร่วมกับคนอื่น ๆ ดังนั้นหากเว็บไซต์อื่นมีการใช้งานทรัพยากรไปมากเท่าไหร่ก็ไม่ส่งกระทบต่อเว็บไซต์

3.Dedicated Server

เป็นประเภท Hosting ที่สามารถเปลี่ยนแปลงการตั้งค่าต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับเว็บไซต์ของเราได้ จึงเหมาะสำหรับการใช้งานที่เป็นส่วนตัว เช่น องค์กรขนาดกลาง องค์กรขนาดใหญ่ ที่ต้องการความเสถียร ความรวดเร็ว และความปลอดภัย แต่ Hosting ประเภทนี้จะมีราคาที่ค่อนข้างสูง ทำให้ต้องมี Technician เข้ามาช่วยดูแล

4.Reseller Hosting

เป็นประเภท Hosting ที่เหมาะสำหรับคนที่รับทำเว็บไซต์ เพื่อแบ่งพื้นที่ให้กับลูกค้าตนเอง หรือขายเว็บไซต์ต่อในนามของตนเองได้ จึงทำให้ Hosting ประเภทนี้ เหมาะสำหรับคนที่ต้องการดูแลหลายเว็บไซต์แต่ควบคุมผ่านแค่ระบบเดียว

หน้าที่ของโฮสติ้ง มีอะไรบ้าง

Hosting จะทำหน้าที่เก็บข้อมูลต่าง ๆ ในเว็บไซต์ เช่น รูปภาพ, HTML, File Code ของระบบต่าง ๆ ทำให้เว็บสามารถเผยแพร่เว็บไซต์ออกสู่โลกอินเตอร์เน็ต ผู้อื่นสามารถเข้ามาชมเว็บไซต์ของเราได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ว่าจะเป็นการรับชมข่าวสาร ดาวน์โหลดข้อมูล รูปภาพ ฯลฯ

เกณฑ์การเลือก Web Hosting ให้ปลอดภัยต่อการใช้งาน

  • ความเร็วและความเสถียรของโฮสติ้ง ควรมีค่า Uptime อย่างน้อย 99% ขึ้นไป เพราะหาก Server เสีย ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตไม่สามารถเข้ามาชมเว็บไซต์ได้ ก็จะทำให้เสียโอกาสทางธุรกิจ ภาพลักษณ์ และความน่าเชื่อถือ
  • เว็บคอนโทรลพาเนล เป็นสิ่งที่ผู้ให้บริการ Hosting ที่ดีควรจะมีให้ ซึ่งควรเป็นคอนโทรลพาเนลที่ใช้งานง่าย มีฟังก์ชันพื้นฐานที่จำเป็นต่อการใช้งานครบถ้วน เช่น Direct Admin, Plesk
  • ระบบที่รองรับ เช่น เว็บไซต์จะใช้ภาษาอะไรในการพัฒนา ชนิดและจำนวนฐานข้อมูลที่ต้องการ จำนวน Account ที่ต้องการ ซึ่งเป็นปัจจัยในการเลือก Web Hosting
  • บริการหลังการขาย ผู้ให้บริการ Hosting ควรจะสามารถติดต่อได้ตลอดเวลาเมื่อเกิดปัญหา และควรมีความเชี่ยวชาญด้านเทคนิคพอสมควรด้วย
  • ระบบสำรองข้อมูล ควรมีการสำรองข้อมูลให้กับลูกค้าอย่างน้อยอาทิตย์ละครั้ง
  • ความปลอดภัย สามารถป้องกัน Spyware, Spam, Viruses, DDoS Attacks หรือ Phishers ได้ในระดับหนึ่ง

ใช้บริการ Hosting ที่ไหนดี บอกหมดจากประสบการณ์ตรง 

เนื่องจากในปัจจุบันนี้การจดทะเบียน Hosting สามารถทำได้ง่าย อีกทั้งยังสถานให้บริการจดทะเบียน Hosting อยู่จำนวนมาก ทำให้หลายคนไม่รู้จะเลือกจดทะเบียนกับที่ไหนดี  

Itnews24hrs ขอแนะนำ HostAtom เว็บไซต์ให้บริการจดทะเบียน Hosting ที่มีหลายเว็บไซต์ในเครือของเราใช้บริการ ชอบตรงที่เจ้าหน้าที่เขาเป็นคนไทย ติดต่อได้ง่าย ให้ความช่วยเหลือเร็ว

วิธีจดทะเบียน Hosting กับ HostAtom ต้องทำอย่างไร

ต่อไปนี้จะเป็นขั้นตอนการจดทะเบียน WordPress Hosting กับ HostAtom สามารถทำตามได้ดังนี้

1.เข้าไปเลือกแพ็คเกจ WordPress Hosting -> คลิก สั่งซื้อ เลือกแพ็คเกจที่ต้องการ

คลิกเลือกแพ็คเกจที่ต้องการใช้บริการ Hosting
คลิกเลือกแพ็คเกจที่ต้องการใช้บริการ Hosting

2.เลือกโดเมนที่จะให้อยู่ใน Hosting โดยจะมีให้เลือกด้วยกัน 3 ตัวเลือก คือ

เลือกโดเมนที่จะใช้ใน Hosting
เลือกโดเมนที่จะใช้ใน Hosting
  • จดโดเมนใหม่ : ส่วนนี้จะต้องตรวจสอบโดเมนเนมก่อนว่ามีคนจดไปหรือยัง คลิกเช็คโดเมนกับ HostAtom
  • โอนย้ายโดเมนจากผู้ให้บริการอื่น : เช่น คุณจดโดเมน ex.com กับ Godaddy และต้องการโอนย้ายโดเมนมาใช้บริการที่ HostAtom แทน
  • ใช้โดเมนที่มีอยู่แล้ว และอัปเดต Nameserver : ไม่ย้ายโดเมน แต่จะชี้ Nameserver ให้ Hosting รู้ว่าเราจะใช้โดเมนนี้แทนนะ

จากตัวอย่างจะเลือกการตั้งค่าโดเมน เป็นการใช้โดเมนที่มีอยู่แล้ว และอัปเดต Nameserver แทน จากนั้นคลิกใช้โดเมนนี้

คลิกอ่านเพิ่มเติม : โดเมน มีอะไรบ้าง 

3.ระบบจะพามาที่หน้าตั้งค่าระบบ Hosting ซึ่งจะมีระบบจัดการ Hosting ให้เลือก 2 ระบบการใช้งานด้วยกัน คือ Direct Admin และ Plesk ให้เลือกระบบที่ต้องการ -> คลิกดำเนินการต่อ

เลือกระบบหลังบ้านสำหรับจัดการ Hosting
เลือกระบบหลังบ้านสำหรับจัดการ Hosting

4.ตรวจสอบข้อมูล และชำระเงินค่าบริการ Hosting

ตรวจสอบข้อมูล และชำระเงินค่าบริการ Hosting
ตรวจสอบข้อมูล และชำระเงินค่าบริการ Hosting

5.กรอกรายละเอียดข้อมูล -> คลิกยืนยันคำสั่งซื้อ

ยืนยันคำสั่งซื้อ Hosting
ยืนยันคำสั่งซื้อ Hosting

ค่าบริการ Hosting ราคาเท่าไหร่

ราคา Hosting จากผู้ให้บริการแต่ละเจ้าจะแตกต่างกันไปค่ะ ส่วนใหญ่จะคิดค่าบริการ Hosting เป็นรายปี ต่อไปนี้จะเป็นตัวอย่างราคาค่าบริการ WordPress Hosting จาก HostAtom 

แพ็คเกจการใช้งาน WordPress Hosting เบื้องต้น จะแบ่งเป็น 2 แพ็คเกจด้วยกัน ดังนี้

ค่าบริการ WordPress Hosting HostAtom
ค่าบริการ WordPress Hosting HostAtom
  • WP-1 ราคา 1,490 บาท/ปี
  • WP-2 ราคา 2,490 บาท/ปี
  • WP-2 ราคา 3,490 บาท/ปี

หากในระหว่างปีเราใช้พื้นที่จัดเก็บข้อมูลเต็ม ก็สามารถเพิ่มพื้นที่ความจุใหม่ได้ ซึ่งราคาค่าบริการจะคิดคำนวณเป็นเคส ๆ ไป คลิกดูแพ็คเกจ WordPress Hosting

Domain กับ Hosting แตกต่างกันอย่างไร

Domain = ชื่อเว็บไซต์ เช่น itnews24hrs.com

Hosting = พื้นที่เก็บข้อมูลเว็บไซต์ เพื่อทำให้เว็บไซต์ออนไลน์ ซึ่งจะมีให้บริการหลากหลายเจ้า เช่น Godaddy, Rukcom, HostAtom ฯลฯ

คลิกอ่านเพิ่มเติม : Sub Domain คืออะไร เหมาะกับการใช้งานแบบไหนในเว็บไซต์

  การใช้บริการ Hosting จากผู้ให้บริการที่น่าเชื่อถือมีความสำคัญมากค่ะ เพราะช่วยทำให้เว็บไซต์สามารถปรากฏต่อสายตาคนทั้งโลกได้ง่ายมากขึ้น ช่วยเพิ่มโอกาสในการทำธุรกิจต่าง ๆ ได้อย่างมากมาย แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นการจดทะเบียน Hosting ก็เป็นเรื่องที่ไม่สามารถมองข้ามได้ ดังนั้นจึงควรเลือกใช้บริการที่เชื่อถือได้ มีความเชี่ยวชาญ มีบริการหลังการใช้งาน เพื่อความปลอดภัย และประสิทธิภาพในการสร้างเว็บไซต์สูงสุด