มัลแวร์ (Malware) คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมวิธีป้องกันแบบทำตามได้จริง

มัลแวร์ (MALWARE) คืออะไร มีกี่ประเภท
มัลแวร์ (MALWARE) คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมวิธีป้องกันแบบทำตามได้จริง

มัลแวร์

ไวรัสมัลแวร์ (Malware) เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างขึ้น เพื่อทำหน้าที่ควบคุมหรือสร้างความเสียหาย ให้กับโปรแกรมและระบบของคอมพิวเตอร์ รวมถึงใช้เป็นเครื่องมือของมิจฉาชีพในการเรียกค่าไถ่ เพื่อแลกกับข้อมูลที่อยู่ในระบบครับ

ในบทความนี้ Itnews24hrs จะพาไปทำความรู้จักว่ามัลแวร์ คืออะไร มีกี่ประเภท พร้อมแนะนำแนวทางการป้องกันมัลแวร์ เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นแบบโดยที่เราเอง อาจจะไม่รู้ตัวด้วยซ้ำครับ !

ไวรัสมัลแวร์ คืออะไร ?

มัลแวร์ คือ กลุ่มของโปรแกรมคอมพิวเตอร์ทุกชนิดที่สร้างขึ้นมาเ พื่อทำการโจมตี หรือมุ่งร้ายต่อคอมพิวเตอร์และเครือข่ายอื่น ๆ ให้ได้รับความเสียหาย 

ซึ่งกลุ่มโปรแกรมเหล่านี้ เมื่อถูกแทรกซึมหรือติดตั้งเข้าไปในระบบ จะทำให้การทำงานของเครือข่าย หรือระบบคอมพิว เตอร์เกิดการทำงานผิดปกติ Malicious Software หรือ โปรแกรมมัลแวร์ มีหลากหลายตัวด้วยกันครับ เช่น สปายแวร์ (Spyware), ไวรัส (Virus), โทรจัน (Trojan), วอร์ม (Worm) 

เสี่ยงโดนมัลแวร์ Malware จากที่ไหนได้บ้าง
มัลแวร์ มักเกิดขึ้นแบบไม่คาดคิด มาจากพฤติกรรมการใช้ของเรา

เสี่ยงโดนมัลแวร์ (Malware) จากที่ไหนได้บ้าง ?

การถูกภัยคุกคามทางไซเบอร์ อย่างมัลแวร์โจมตี เกิดขึ้นได้จากหลายช่องทาง ดังนี้

  • สแปมต่าง ๆ ที่อยู่ในสื่อสังคมออนไลน์
  • Spam Link มัลแวร์ ผ่าน Comment ในสื่อสังคมออนไลน์ทุกชนิด
  • เว็บไซต์สำหรับการดาวน์โหลดโปรแกรมชนิดต่าง ๆ
  • เว็บไซต์ปลอม หรือข้อความต่าง ๆ ที่ไม่มีข้อมูลชัดเจน
  • เว็บไซต์สำหรับการสร้างรายได้พิเศษทุกชนิด
  • อีเมลและไฟล์แนบที่เราไม่รู้จัก
  • โฆษณาและหน้าต่าง Pop Up  ปลอม หรือมีที่มาไม่ชัดเจน
  • การใช้งานโปรแกรมปลอม หรือดาวน์โหลดจากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
  • การดาวน์โหลด Application  จากแหล่งที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ
  • การฝัง Link  มัลแวร์ ผ่าน Ads หรือโฆษณาต่าง ๆ

ประเภทของมัลแวร์ มีอะไรบ้าง ?

ประเภทของมัลแวร์ มีหลากหลายตัวมากครับ ซึ่งประเภทมัลแวร์ที่เราพบ ว่ามักถูกโจมตีบ่อย ๆ มีดังนี้

1. Worm (เวิร์ม)

มัลแวร์ Worm (เวิร์ม)
มัลแวร์ Worm หรือ หนอนคอมพิวเตอร์

Worm คือ โปรแกรมมัลแวร์ที่สามารถพบเจอได้ง่ายที่สุด มีสัญลักษณ์เป็นรูปตัวหนอน หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า “หนอนคอมพิวเตอร์” 

โดยมีการแพร่กระจาย ผ่านระบบอินเตอร์เน็ต หรือระบบเน็ตเวิร์ค ด้วยการแทรกซึมผ่านทางช่องโหว่ของระบบปฏิบัติการต่าง ๆ เพื่อเข้าไปลบไฟล์หรือสร้างไฟล์ ทำให้เกิดความเสียหายต่อระบบได้ง่าย ส่วนใหญ่เรามักจะพบเห็นเวิร์มถูกแพร่กระจาย มาในรูปแบบการส่งอีเมล และข้อความที่ไม่มีความน่าเชื่อถือ

2. Virus (ไวรัส)

มัลแวร์ไวรัส
มัลแวร์ไวรัส

Virus คือ โปรแกรมมัลแวร์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีความอันตรายสูง เพราะสามารถคัดลอก หรือกระจายตัวเองไปยังเครื่องคนอื่นได้ง่าย สามารถหลีกเลี่ยงการตรวจสอบจากระบบได้เป็นอย่างดี โดยมีการฝังตัวอยู่กับไฟล์ประเภทต่าง ๆ เช่น Document File, Script File และไฟล์ในลักษณะอื่น ๆ 

เมื่อคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเราติดไวรัสมัลแวร์ จะทำให้เครื่องทำงานได้ช้าลง หรือหยุดการทำงาน เพราะไวรัสมัลแวร์จะเข้าไปทำลายระบบปฏิบัติการ และไฟล์ที่สำคัญของโปรแกรม ทำให้ได้รับความเสียหายจนทำให้เครื่องดับอีกด้วย

3. Trojan (โทรจัน)

มัลแวร์ Trojan
มัลแวร์ Trojan หรือ ม้าโทรจัน

ม้าโทรจัน หรือ Trojan คือ โปรแกรมมัลแวร์ที่ถูกติดตั้ งเพื่อทำหน้าที่ปฏิบัติการล้วงความลับ และขโมยข้อมูลสำคัญภายในเครื่อง รวมถึงข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี เช่น  Password,User ID และข้อมูลต่าง ๆ ที่ใช้งานผ่านการ Login 

เมื่อเราใช้งานผ่านการพิมพ์โดยใช้คีย์บอร์ด หรือ Touch Screen จะมีการบันทึกและดักจับข้อมูลการใช้งานของเรา ทำให้โปรแกรมมัลแวร์ประเภทนี้ จึงเป็นที่นิยมนำไปใช้ในการเจาะข้อมูล หรือเจาะระบบต่าง ๆ เพราะสามารถติดตั้งม้าโทรจันผ่านการดาวน์โหลดได้ง่ายนั่นเองครับ

4. Spyware (สปายแวร์)

มัลแวร์ Spyware
มัลแวร์ Spyware

Spyware คือ โปรแกรมมัลแวร์ที่มีการฝังตัวเหมือนสายลับ สามารถหลบเลี่ยงจากการตรวจจับได้ดี ทำหน้าที่เก็บข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน ของคอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ ทำให้มิจฉาชีพนำข้อมูลเหล่านี้ไปหาผลประโยชน์ในทางที่ไม่ดี

โดยโปรแกรมมัลแวร์ชนิดนี้มีการรับมือได้ยากมาก เพราะว่า Spyware จะฝังตัวอยู่กับคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือทุกเครื่อง ที่มีการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต และสามารถกระโดดข้ามไปเครื่องไหนก็ได้อย่างอิสระครับ

5. Backdoor (แบ็กดอร์)

มัลแวร์ Backdoor
มัลแวร์ Backdoor

Backdoor คือ โปรแกรมมัลแวร์ที่ถูกมิจฉาชีพนำไปใช้งาน โดยการติดตั้งเพื่อขโมยข้อมูลต่าง ๆ ภายในเครื่องแบบที่เราไม่รู้ตัวและคาดไม่ถึง ! 

ซึ่งการทำงานของโปรแกรมมัลแวร์ Backdoor (แบ็กดอร์) จะเริ่มทำงานตั้งแต่การเปิดเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือขึ้นมา สามารถควบคุมและเข้าถึงไฟล์ต่าง ๆ ภายในเครื่องได้ตลอดเวลา

โดยแฮกเกอร์สามารถขโมยข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ ออกไปได้อย่างรวดเร็ว และสามารถลบข้อมูลเหล่านั้นทิ้งได้เมื่อทำงานสำเร็จ เปรียบเสมือนว่าได้คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเรา ไปใช้งานควบคุมได้ในระยะไกล

โดนมัลแวร์โจมตี ต้องทำอย่างไร ?

เมื่อเราถูกมัลแวร์รูปแบบต่าง ๆ โจมตี สามารถทำตามวิธีเหล่านี้ได้ครับ 

  • ติดตั้งโปรแกรม Antivirus หรือ Anti malware เพื่อกำจัดมัลแวร์
  • หยุดการเชื่อมสัญญาณอินเตอร์เน็ต หรือสร้างเครือข่ายต่าง ๆ
  • ไม่ควรเชื่อมต่ออุปกรณ์อื่น ๆ เช่น  Flash Drive, ฮาร์ดดิสก์พกพา 
  • ทำการอัปเดตซอฟต์แวร์ให้เป็นเวอร์ปัจจุบัน และทำการกู้ข้อมูล
  • ทำการลง Windows ใหม่ เพื่อทำความสะอาดเครื่อง (ขั้นตอนนี้เป็นทางเลือกสุดท้าย หลังจากสำรองข้อมูลเสร็จแล้ว)
วิธีป้องกันมัลแวร์ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย

วิธีป้องกันมัลแวร์ เพื่อหลีกเลี่ยงอันตราย

เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากมัลแวร์ ที่เป็นอันตรายต่ออุปกรณ์การใช้งาน เราขอแนะนำวิธีป้องกันมัลแวร์ ดังนี้ครับ

  • ติดตั้งโปรแกรม Antivirus หรือ Anti Malware
  • ติดตั้งซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมจากแหล่งที่มีความน่าเชื่อถือ และถูกกฎหมาย
  • รักษาความปลอดภัยของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
  • ควรสำรองไฟล์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ
  • ทำการอัปเดตระบบปฏิบัติการอย่างสม่ำเสมอ

การใช้โปรแกรมลบมัลแวร์ ได้ผลมาก-น้อยแค่ไหน ?

การใช้โปรแกรมแอนตี้ไวรัส หรือ โปรแกรมสแกนมัลแวร์ คือทางออกที่ดีครับ เพราะสามารถช่วยให้คอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของเรา ป้องกันมัลแวร์ที่เป็นอันตรายต่อระบบได้มากถึง 95% โดยเฉพาะการป้องกันการเชื่อมต่อเครือข่ายอินเตอร์เน็ต และการเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่าง ๆ 

โปรแกรมแอนตี้มัลแวร์ หรือ Antivirus  สามารถควบคุม และลบมัลแวร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ทำให้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือของเรา มีความปลอดภัยจากการโจมตีของมัลแวร์ชนิดต่าง ๆ ได้ดีขึ้น 

ยิ่งมีการอัปเดตโปรแกรมแอนตี้ไวรัส ให้เป็นเวอร์ชันปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอ ก็จะยิ่งช่วยให้การป้องกันมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามไปด้วย

สรุปเรื่องภัยคุกคามมัลแวร์

มัลแวร์ คือ ภัยร้ายตัวสำคัญ ที่สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือของเรา โดย Malware สามารถแทรกซึมเข้ามาภายในคอมพิวเตอร์ของเราได้ จากพฤติกรรมการใช้งานของตัวเรา 

แต่เราสามารถรับมือจากการโจมตีจากไวรัสมัลแวร์ได้ ด้วยการติดตั้งโปรแกรมสแกนมัลแวร์ การอัปเดตระบบปฏิบัติการเป็นประจำ และการสำรองไฟล์ข้อมูลอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งจะช่วยให้ข้อมูลและอุปกรณ์การใช้งาน มีความปลอดภัยจากการถูกโจมตีด้วยมัลแวร์มากยิ่งขึ้นครับ