9 โปรแกรมมัลแวร์ ที่ผู้ใช้งานคอมและมือถือ ถูกติดตั้งบ่อย มีอะไรบ้าง

โปรแกรมมัลแวร์ ที่ถูกติดตั้งบ่อย
โปรแกรมมัลแวร์ ที่ถูกติดตั้งบ่อย

โปรแกรมมัลแวร์

ในยุคปัจจุบันมีภัยคุกคามไซเบอร์หลากหลายแบบมากครับ หนึ่งในนั้นการถูกโจมตีด้วยโปรแกรมมัลแวร์ ที่เหล่าผู้ไม่ประสงค์ดีจ้องจะเล่นงานเรา เพื่อเข้าถึงข้อมูลสุดละเอียดอ่อนของเรา !

ในบทความนี้ Itnews24hrs จะมาแนะนำโปรแกรมมัลแวร์ ที่เราควรระมัดระวังให้ดี ! เพราะมีผู้ใช้งานหลายคน ที่ถูกโจมตีด้วยโปรแกรมมัลแวร์เหล่านี้ ทำให้เกิดความเสียหายมาแล้วมากมาย ว่าแต่จะมีโปรแกรมมัลแวร์อะไรบ้าง ที่ต้องระวังให้ดี เรามาหาคำตอบกันผ่านบทความนี้ครับ

ทำความรู้จัก โปรแกรมมัลแวร์ คืออะไร ?

โปรแกรมมัลแวร์ ย่อมาจากคำว่า MALicious และ SoftWARE คือ โปรแกรมตัวร้ายที่ผู้ไม่หวังดีเขียนขึ้นมา เพื่อใช้เข้าถึงข้อมูลในระบบ จนทำให้เกิดความเสียหายครับ หากติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ ในเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ อาจทำให้เกิดความเสียหายตามมา เช่น 

  • โปรแกรมมัลแวร์ ทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์ทำงานผิดปกติ 
  • ถูกควบคุมอุปกรณ์การใช้งานจากระยะไกล
  • เกิดการแชร์ข้อมูลไปยัง Server แห่งอื่น
  • ผู้ไม่หวังดี เข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในระบบได้
โปรแกรมมัลแวร์ที่ถูกโจมตี มีหลากหลายชนิด

โปรแกรมมัลแวร์ มีอะไรบ้าง ? ที่มักนำมาโจมตี

ปัจจุบันมีโปรแกรมมัลแวร์หลากหลายมากครับ แต่ 9 โปรแกรมมัลแวร์ที่จะแนะนำต่อไปนี้ เป็นโปรแกรมมัลแวร์ที่พบการโจมตีค่อนข้างบ่อย 

1. ไวรัส (Virus)

จะว่าไปแล้ว มัลแวร์ไวรัสที่ติดในคอม ก็จะเหมือนเชื้อไวรัสที่เข้าสู่ร่างกายคนครับ หากคอมเราโดนโปรแกรมมัลแวร์อย่างเจ้าไวรัสเข้าไป ตัวเครื่องคอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์การใช้งาน จะเกิดความผิดปกติ เพราะถูกไวรัสรบกวนการทำงาน 

ซึ่งการติดโปรแกรมมัลแวร์ไวรัส มักจะพบเมื่อมีการส่งต่อไฟล์ข้อมูลต่าง ๆ จากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง

2. สปายแวร์ (Spyware) 

โปรแกรมมัลแวร์อย่างสปายแวร์ ตัวนี้ค่อนข้างน่ากลัว เพราะมันจะคอยแอบดูพฤติกรรมการใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือเป็นหลัก ให้ความรู้สึกว่าถูกนักสืบติดตามยังนั้นเลยแหละครับ 

ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากโปรแกรมมัลแวร์สปายแวร์ คือ การถูกขโมยส่วนตัวที่สำคัญ ๆ บอกเลยครับว่าเป็นเรื่องที่อันตรายมาก ซึ่งมักจะเกิดจากติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่น่าเชื่อถือ

โปรแกรมมัลแวร์เวิร์ม แพร่กระจายตามเครือข่าย

3. หนอนคอมพิวเตอร์ (Worm) 

เวิร์ม หรือ หนอนคอมพิวเตอร์ เป็นโปรแกรมมัลแวร์ที่สามารถแพร่กระจาย ไปยังอุปกรณ์การใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ซึ่งจะคล้ายกับตัวหนอนที่สามารถชอนไปยังส่วนต่าง ๆ ของชิ้นเนื้อที่เน่าเสียครับ

4. ม้าโทรจัน (Trojan Horse)

ม้าโทรจัน เป็นโปรแกรมมัลแวร์ที่เหล่า Hacker นิยมติดตั้งครับ โดยม้าโทรจันจะชุบตัวเป็นโปรแกรมที่น่าเชื่อถือ ถูกกฎหมาย เพื่อหลอกให้ผู้ใช้งานตายใจ แล้วตัดสินใจติดตั้งในที่สุด

ปัจจุบันอุปกรณ์การใช้งานอย่างคอมพิวเตอร์ และมือถือ ถูกม้าโทรจันโจมตีมากที่สุดในบรรดาโปรแกรมมัลแวร์ทั้งหมด หากถูกม้าโทรจันโจมตีแล้ว มันจะแฝงอยู่ในเครื่องได้อย่างยาวนาน ซึ่งเหยื่อมักจะถูกโปรแกรมมัลแวร์ม้าโทรจันโจมตี ผ่านการคลิกดาวน์โหลด Software โปรแกรมป้องกันไวรัสครับ

5. รูตคิต (Rootkit) 

รูตคิต เป็นโปรแกรมมัลแวร์ที่อันตรายที่สุด เพราะหากคอมพิวเตอร์เราถูกโจมตีด้วยรูตคิต จะทำให้เหล่า Hacker เข้าถึงเครื่องคอมของเราได้อย่างถาวร โดยมันมักจะซ่อนตัวให้อยู่ในระบบอย่างลึกที่สุด เพื่อให้ยากต่อการตรวจจับ

ซึ่งการถูกโจมตีด้วยโปรแกรมมัลแวร์อย่างรูตคิต มักจะมาจากการติดตั้งเครื่องมือต่าง ๆ ในระบบคอมของเรา จุดประสงค์หลัก ๆ ของโปรแกรมมัลแวร์ตัวนี้ คือ ต้องการขโมยข้อมูล ทำให้มีเหยื่อหลายคนแทบไม่รู้ตัวด้วยซ้ำ ว่าถูกเจ้ารูตคิตโปรแกรมมัลแวร์โจมตีอยู่

โปรแกรมมัลแวร์เรียกค่าไถ่ เพื่อเก็บเงินเอาข้อมูล

6. มัลแวร์เรียกค่าไถ่ (Ransomware)

โปรแกรมมัลแวร์เรียกค่าไถ่ หรือ Ransomware จะต่อรองกับผู้เสียหาย ด้วยการเอาข้อมูลเป็นประกัน คล้าย ๆ กับการถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ โดยจะต้องชำระเงินในรูปแบบ Digital ส่วนใหญ่แล้วองค์กร และบริษัทดัง ๆ มักจะถูกผู้ไม่หวังดีติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ตัวนี้

แต่ก็ใช่ว่าจ่ายเงินไปแล้ว จะได้รับข้อมูลคืนครับ เคยได้ยินคำว่า ‘ไม่มีสัจจะในหมู่โจร’ ใช่มั้ยล่ะ ? ปัจจุบันพบว่ามี 1 ใน 4 ที่ถูกโปรแกรมมัลแวร์เรียกค่าไถ่โจมตีด้วยการเข้าถึงรหัส และพบว่าเมื่อจ่ายเงินไปแล้ว กลับไม่ได้ข้อมูลครับ ถือว่าเป็นโปรแกรมมัลแวร์อีกตัวที่แสบ และสร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก

7. มัลแวร์แบบไม่ต้องติดตั้งตัวเอง (Fileless Malware)

โปรแกรมมัลแวร์แบบไม่ต้องติดตั้งตัวเอง จะเป็นมัลแวร์แบบไร้ไฟล์ โดยพวกมันจะไม่ติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ลงบนเครื่องคอมพิวเตอร์ แต่จะใช้ Software เดิมที่มีอยู่ในเครื่องทำการเริ่มโจมตีแทน

โดยโปรแกรมมัลแวร์แบบไม่ต้องติดตั้งตัวเอง จะเริ่มทำการโจมตี เมื่อเราเปิดใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ตามที่มันแอบแฝงตัว และจะหยุดการโจมตีลงเมื่อเราปิดการใช้งานอุปกรณ์ครับ

โปรแกรมเครื่องมือดักจับการพิมพ์บนคีย์บอร์ด

8. เครื่องมือดักจับการพิมพ์บนคีย์บอร์ด (Keylogger)

โปรแกรมมัลแวร์ Keylogger ตัวนี้ ถือว่าแสบใช้ได้เลยครับ เพราะเป้าหมายหลักของมัน คือ การดักจับข้อมูลบนคีย์บอร์ดที่เราพิมพ์ ! โดยมันจะคอยเฝ้าดูพฤติกรรมการใช้คีย์บอร์ดของเรา โดยจดจำการพิมพ์ต่าง ๆ 

ซึ่งข้อมูลที่โปรแกรมมัลแวร์ตัวนี้จดจำและบันทึกเอาไว้ จะถูกส่งข้อมูลไปยัง Server เครื่องปลายทาง เพื่อให้ Hacker หรือผู้เกี่ยวข้องคัดกรองข้อมูลที่เป็นประโยชน์ครับ เช่น เลขบัตรเครดิต ซึ่งปัจจุบันนี้มักพบโปรแกรมมัลแวร์ Keylogger บนอุปกรณ์การใช้งานอย่างคอมพิวเตอร์ แท็บเลต รวมถึงโทรศัพท์มือถือ 

9. มัลแวร์ในรูปแบบโฆษณา (Malvertising)

โปรแกรมมัลแวร์ในรูปแบบโฆษณา จะเป็นการที่ผู้ไม่หวังดี จ่ายเงินติดโฆษณาในเว็บไซต์เครือข่ายที่ถูกกฎหมาย เมื่อผู้เสียหายคลิก ตัวโฆษณาก็จะเปลี่ยนเส้นทางไปยังเว็บไซต์สุดอันตราย หรือติดตั้งโปรแกรมให้เองแบบดาวน์โหลดอัตโนมัติ ทั้ง ๆ ที่เราไม่ได้กดดาวน์โหลด !

ถ้าอธิบายให้เห็นภาพมากขึ้น หลายคนที่อ่านบทความนี้ น่าจะเคยเข้าไปดูเว็บดูหนังกันใช่มั้ยล่ะครับ ซึ่งเราก็จะเห็น Banner โฆษณาต่าง ๆ เต็มไปหมด หากกดคลิกก็จะเด้งไปหน้าเว็บไซต์อื่น หรือเกิดการดาวน์โหลดข้อมูลเองแบบอัตโนมัติแทน

โดนโปรแกรมมัลแวร์โจมตี ต้องทำอย่างไร ?

หากเราโดนโปรแกรมมัลแวร์โจมตี สิ่งแรกที่ต้องทำ คือ การตั้งสติ แล้วเริ่มตรวจสอบว่าโดนโปรแกรมมัลแวร์ประเภทไหนโจมตี 

การกำจัดโปรแกรมมัลแวร์ ที่นิยมที่สุด คือ การติดตั้งโปรแกรมสแกนมัลแวร์ และใช้โปรแกรมเหล่านั้นกำจัดออกไปครับ ในกรณีที่เกิดเคสร้ายแรง เช่น เว็บไซต์บริษัท / องค์กร ถูกโปรแกรมมัลแวร์โจมตี ก็จำเป็นจะต้องหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยจัดการโดยตรงครับ

แนวทางป้องกันการถูกโจมตีจากโปรแกรมมัลแวร์

แนวทางป้องกันการถูกโจมตีจากโปรแกรมมัลแวร์

สำหรับแนวทางการป้องกันการโจมตีจากโปรแกรมมัลแวร์ ที่เราอยากแนะนำมีดังนี้

  • อัปเดตคอมพิวเตอร์ ให้เป็นระบบปฎิบัติการล่าสุดอยู่เสมอ เพื่อลดช่องโหว่ในการโจมตี
  • หลีกเลี่ยงการกดคลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เพื่อป้องกันการถูกติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์
  • ไม่กดติดตั้ง ดาวน์โหลด มั่วซั่ว เพราะอาจจะเป็นการหลอกให้กดติดตั้ง หรือดาวน์โหลดโปรแกรมมัลแวร์
  • จำกัดการแชร์ไฟล์ในระบบ เพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลจากบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง
  • ติดตั้งโปรแกรมสแกนไวรัส เราแนะนำว่าให้ซื้อแบบเสียเงิน ควรหลีกเลี่ยงโปรแกรมฟรี เพราะสุ่มเสี่ยงต่อการถูกหลอกให้ติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์

สรุปเรื่องโปรแกรมมัลแวร์

ภัยคุกคามไซเบอร์จากโปรแกรมมัลแวร์ เป็นเรื่องที่ผู้ใช้งานอย่างเราไม่ควรมองข้ามครับ เพราะเป็นเรื่องใกล้ตัวกว่าที่คิด อาจจะถูกติดตั้งโปรแกรมมัลแวร์ในแบบที่ไม่รู้ตัวได้ 

แนวทางการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การหาโปรแกรมสแกนไว้รัสเจ๋ง ๆ สักเจ้ามาติดเครื่องไว้ เพื่อที่ตัวโปรแกรมจะได้ทำการสแกน ตรวจสอบโปรแกรมมัลแวร์อยู่ตลอดเวลา หากถูกโจมตีก็จะป้องกันความเสียหา ยที่อาจจะเกิดขึ้นได้ครับ